หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Resveratrol and Longevity

เรสเวอราทรอล กับ การยืดอายุสิ่งมีชีวิต


เรสเวอราทรอล(Resveratol) กับการศึกษาความสามารถในการยืดอายุสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ


มีการศึกษาที่เผยแพร่ในปี 2012 (Hector, et al., 2012) ที่มีการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน(Meta-Analysis study) โดยมีการรวบรวมงานวิจัยจำนวน 19 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของเรสเวอราทรอลกับความสามารถในการยืดอายุของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ (spices) ต่างๆ โดยหาความสัมพันธ์อัตราการเสี่ยงในการตาย หรือ Hazard Ratio(HR) ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับเรสเวอราทรอล โดยถ้ามีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม แต่ถ้ามีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า กลุ่มที่ได้รับเรสเวอราทรอลมีอัตราความเสี่ยงการตายต่ำกว่า

หัวข้อการศึกษา
Hazard Ratio
ค่าเฉลี่ยรวมทุกการศึกษา
0.629
หนอนตัวกลม (Caenorhabditis elegans)
รูปจาก www.mun.ca

0.510
ยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae)
รูปจากhttp://www.evoluzioneculturale.it

0.574
ปลาครีบคู่ (Nothobranchius furzeri)
รูปจาก www.killi.co.uk

0.401
แมลงวันผลไม้ หรือแมลงวันทอง (Drosophila melanogaster)
รูปจาก http://whyevolutionistrue.wordpress.com


0.796
หนู (Mus musculus)
รูปจาก www.cepbrowser.org

0.865
แมลงวันผลไม้สายพันธ์แมกซิโก(Anastrepha ludens)
รูปจาก www.flickr.com

0.998

หมายเหตุ สิ่งมีชีวิตที่งานวิจัยต่างๆเลือกมาทดลองจะเลือกสายพันธุ์ที่มีอายุสั้นโดยปรกติเพื่อสามารถติดตามดูจนครบอายุได้

จากการศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์พบว่า เรสเวอราทรอลสามารถลดอัตราความเสี่ยงการตายได้ในระดับปานกลางในกลุ่มหนอนตัวกลม ยีสต์ และปลาครีบคู่ ในแมลงวันทองมีแนวโน้มที่จะลดอัตราความเสี่ยงการตายได้ ส่วนในหนู และแมลงวันสายพันธุ์แม็กซิโก มีแนวโน้มที่ลดได้น้อย โดยเฉพาะในแมลงวันสายพันธุ์แม็กซิโกแทบจะไม่มีความแตกต่างจากลุ่มควบคุม

จากการศึกษานี้ยังพบว่าเรสเวอราทรอลมีผลในการลดอัตราความเสียงการตายอย่างมากในปลาครีบคู่ ซึ่งในบางงานวิจัยระบุว่าสามารถลดความเสียงในการตายได้ 500% ทั้งนี้เมื่อพิจารณาพบว่าโดยธรรมชาติของปลาสายพันธุ์นี้เมื่ออายุเยอะมักจะตายเนื่องจากเนื้องอกที่ตับ และไต ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเรสเวอราทรอลมีประสิทธิภาพที่มีความเจาะจงกับการเนื้องอกนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคของเรสเวอราทรอลให้ผลดีกับปลาครีบคู่เป็นพิเศษ

ผลจากงานศึกษานี้ได้ยืนยันถึงการกล่าวอ้างของเรสเวอราทรอลในการยืดอายุสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน หนอนตัวกลุ่ม ยีสต์ และ ปลาครีบคู่

การศึกษานี้เป็นการศึกษาฉบับแรกที่ได้มีการรวบรวมงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรสเวอราทรอลและการยืดอายุสัตว์ทดลองและมีการนำมาวิเคราะห์อภิมาน(meta-analysis)

การศึกษาของเรสเวอราทรอล(Resveratol) ในมนุษย์

ถึงแม้ในมนุษย์ยังไม่มีการศึกษาในสามารถยืนยันได้ว่าเรสเวอราทรอลสามารถยืดอายุได้อย่างเช่นในสัตว์ทดลองแต่ก็มีงานวิจัยหลายงานวิจัยที่สามารถกล่าวได้ว่าเรสเวอราทรอลสามารถ ป้องกัน และบรรเทาโรคร้ายต่างๆซึ่งเป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ได้

จากบทความของ Timmers และคณะ(2012) ได้สรุปงานวิจัยทางคลีนิกต่างๆที่มีการนำเรสเวอราทรอลมาใช้ในมนุษย์ ดังนี้

ภาวะเครียดออกซิเดชั่น และการอักเสบ

  • ลดการผลิตอนุมูลอิสระภายในร่างกายในผู้ใหญ่สุขภาพดี โดยไปลดกิจกรรมของเอนไซม์ และโปรตีนต่างๆที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ และการอักเสบในร่างกาย
  • ลดการเกิดภาวะเครียดออกซิชั่น และภาวะการอักเสบในผู้ชายและหญิงสุขภาพดีภายหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูง

โรคหัวใจหลอดเลือด

  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในผู้ชายและหญิงสุขภาพดี
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เยื้อบุผนังหลอดเลือดแดง(เพิ่มค่า Flow-mediated dilation)ในผู้ชายอ้วน และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เริ่มมีความดันโลหิตสูง(borderline hypertension)

โรคมะเร็ง

  • ยับยั้งวิถี Wnt(Wnt pathway) ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ลดการแบ่งตัวของเนื้องอกลง 5% ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษ และสารก่อมะเร็งในผู้ชาย และหญิงสุขภาพดี
  • ลดการหลั่งฮอรโมน IGF-1 และ IGFBP-3 ในผู้ชาย และหญิงสุขภาพดีซึ่งมีสวนช่วยในการป้องกันมะเร็ง

เบาหวาน และโรคอ้วน

เริ่มจากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าเรสเวอราทรอลสามารถเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน(insulin sensitivity) และสามารถเพิ่มอัตราการใช้พลังงาน(energy expenditure ) ความสนใจในประสิทธิภาพของเรสเวอราทรอลในการนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคอ้วนจึงได้เริ่มขึ้น โดยเมื่อมีการนำไปใช้ในคนพบว่า
  • สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการอดอาหาร และหลังมื้ออาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  • ลดภาวะดื้ออินซูลิน และภาวะเครียดออกซิเดชั่นในผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ลดระดับน้ำตาลสูงสุด(peak glucose)หลังมื้ออาหาร และระดับน้ำตาลภายหลังมื้ออาหาร 3 ชั่วโมง และเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดสู่เนื้อเยื้อในผู้สูงอายุที่มีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง(impaired glucose tolerance)
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารของคนอ้วนสุขภาพดี และยังส่งผลในการลดระดับน้ำตาล และอินซูลินในเลือด ลดการสะสมไขมันที่ตับ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไมโตคอนเดรียในเซลล์กล้ามเนื้อ และลดการอักเสบ


 ที่มาของข้อมูล
  • Hector, K. L., Lagisz, M., & Nakagawa, S. (2012). The effect of resveratrol on longevity across species: a meta-analysis. Biology Letters, 8(5), 790-793.
  • Timmers, S., Auwerx, J., & Schrauwen, P. (2012). The journey of resveratrol from yeast to human. Aging (Albany NY), 4(3), 146.

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Resveratrol and Skin Aging


Skin Aging: The visible aging process

ภาวะความชราภาพ คือการเสื่อมของระบบการทำงานของร่างกายเนื่องจากสาเหตุต่างๆทั้งภายในร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ทำให้การทำงานของร่างกายผิดปรกติ และเกิดโรคต่างๆซึ่งมีเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งความผิดปรกติของร่างกายภายในไม่สามารถมองเห็นได้นอกจากมีการตรวจสอบอย่างละเอียด แต่สิ่งที่สามารถปรากฏได้ชัดเนื่องจากภาวะความชราภาพคือ รอยเหี่ยวย่นของผิวที่ปรากฏภายนอกซึ่งเรียกว่า skin aging  ดังนั้นเมื่อพูดถึงความชราภาพคนส่วนใหญ่มักนึกถึงรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนังเป็นอันดับแรก  ไม่มีใครอยากดูแก่ด้วยเหตุนี้จึงมีงานวิจัยมากมายที่พยายามหาวิธีการชะลอความชราภาพ

Skin Aging เกิดจากอะไร


ประเภทความเสื่อมสภาพของผิวสามารถแบ่งออกเป็นสองแบบหลักๆ คือ
I)        ความเสื่อมของผิวตามวัย (Chronological aging) ซึ่งเกิดจากอนุมูลอิสระภายในร่างกายจากกระบวนการเผาผลาญ
II)      ความเสื่อมของผิวเนื่องจากแสงแดด (Photo aging) ซึ่งเกิดจากรังสียูวีในแสงแดดกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมา

สรุปง่ายๆ คือ ความเสื่อมของผิวเกิดจากอนุมูลอิสระ ดังนั้นการชะลอความเสื่อมของผิวคือการต้านอนุมูลอิสระ

Resveratrol และ Skin Aging


ต้านอนุมูลอิสระ


การเกิดอนุมูลอิสระสามารถเกิดขึ้นได้จากภายในร่างกายซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเมตาบอลิก และจากภายนอกร่างกายเช่น รังสียูวีจากแสงแดด ยากำจัดศัตรูพืช สารพิษต่างๆ และมลภาวะเป็นต้น เมื่อร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินกว่าที่จะต้านได้ร่างกายเราจะเข้าสูภาวะเคียดออกซิเดชั่น(Oxidative Stress) และจะทำลายเซลล์ ซึ่งหมายรวมถึงเซลล์ผิวด้วย

เรสเวอราทรอลเป็นสารที่มีประสิทธิภาพทั้งในการต้านอนุมูลอิสระ และยั้บยั้งการสร้างอนุมูลอิสระ จึงสามารถลดภาวะเครียดออกซิเดชั่นได้(Pandey & Rizvi, 2011)
ไดอะแกรมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าวัดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น และผลของการได้รับเรสเวอราทรอล(Pandey & Rizvi, 2011)

ในภาวะเครียดออกซิเดชั่นความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือด(PAP), ระดับกลูต้าไธโอนรูปรีดิวซ์(GSH) และไทออลรวม(-SH) จะลดลง ในขณะเดียวกันระดับมาโลนไดอัลดีไฮด์(MDA), คาร์บอนิลโปรตีน(PCO) และผลิตภัณฑ์โปรตีนที่เกิดออกซิเดชั่น(AOPP) จะเพิ่มขึ้น
การได้รับเรสเวอราทรอลจะให้ผลในทิศทางตรงกันข้าม

ที่มา

  • Pandey, K. B., & Rizvi, S. I. (2011). Anti-oxidative action of resveratrol: Implications for human health. Arabian Journal of Chemistry, 4(3), 293-298.


ปกป้องผิวจากยูวี


รังสียูวีในแสงแดดสามารถทำลายเซลล์ผิวเรา โดยเฉพาะรังสียูวีบีซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง จากการทดลองในหนูทดลอง และเซลล์ผิวมนุษย์พบว่าเรสเวอราทรอลสามารถบรรเทาการทำลายเซลล์ผิวจากการได้รับรังสียูวีบีได้ (Afag, et al., 2003; Aziz, et al., 2005; Adhami, et al., 2003) และนอกจากนี้รังสียูวีในแสงแดดสามารถลดการทำงานของยีน SIRT 1 ในเซลล์ผิวเราได้ สารกระตุ้นการทำงานของยีน SIRT 1 อย่างเรสเวอราทรอลสามารถปกป้องการทำลายผิวเราจากรังสียูวีได้(Cao, et al., 2009)

ที่มา

  • Afaq, F., Adhami, V. M., & Ahmad, N. (2003). Prevention of short-term ultraviolet B radiation-mediated damages by resveratrol in SKH-1 hairless mice.Toxicology and applied pharmacology, 186(1), 28-37.
  • Aziz, M. H., Afaq, F., & Ahmad, N. (2005). Prevention of UltravioletB Radiation Damage by Resveratrol in Mouse Skin Is Mediated via Modulation in Survivin¶.Photochemistry and photobiology, 81(1), 25-31.
  • Adhami, V.M., Afaq, F., Ahmad, N.: Suppression of ultraviolet B exposure-mediated activation of NF-kappaB in normal human keratinocytes by resveratrol. Neoplasia 5, 74–82 (2003)
  • Cao, C., Lu, S., Kivlin, R., Wallin, B., Card, E., Bagdasarian, A., ... & Wan, Y. (2009). SIRT1 confers protection against UVBand H2O2induced cell death via modulation of p53 and JNK in cultured skin keratinocytes. Journal of cellular and molecular medicine, 13(9b), 3632-3643.


ลดการตายของเซลล์ผิวเนื่องจากอนุมูลอิสระ


เนื่องจากการทำงานของไมโตคอนเดรียในร่างกายจะมีการผลิตไนตริกออกไซด์ออกมาเป็นปรกติอยู่แล้ว โดยในกรณีภาวะปรกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นผลพลอยได้จากไนตริกออกไซด์ได้ แต่ถ้าในภาวะที่มีปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ผิวหนังเมื่อได้รับความร้อน รังสียูวีจากแสงแดด การอักเสบ และการได้รับบาดเจ็บที่ผิวเช่นแผลถลอก และแผลไฟใหม้ เซลล์ผิวของเราจะมีการสร้างไนตริกออกไซด์ที่มากกว่าปรกติซึ่งจะเกิดอนุมูลอิสระมากมายและกระตุ้นการตายของเซลล์ผิวเราได้(Suschek, et al., 2010) เรสวาราทรอลมีความสามารถในการเข้าไปจับเซลล์ผิวและช่วยลดการตายของเซลล์ผิว และปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระได้(Bastianetto, et al., 2010)

ที่มา

  • Suschek, C. V., Opländer, C., & van Faassen, E. E. (2010). Non-enzymatic NO production in human skin: Effect of UVA on cutaneous NO stores. Nitric Oxide,22(2), 120-135.
  • Bastianetto, S., Dumont, Y., Duranton, A., Vercauteren, F., Breton, L., & Quirion, R. (2010). Protective action of resveratrol in human skin: possible involvement of specific receptor binding sites. PloS one, 5(9), e12935.

สร้างเซลล์ผิว


บทบาทของยีน SIRT1 ในเซลล์ผิวคือช่วยในกระบวนการเติบโตของเซลล์ผิว (Differentiation คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ และโครงสร้างของเซลล์ผิวภายในเพื่อจะกลายมาเป็นชั้นผิวด้านนอก) เรสเวอราทรอลซึ่งเป็นสารที่สามารถกระตุ้นการทำงานของยีนนี้ได้จึงมีส่วนช่วยในกระบวนการเติบโตของเซลล์ผิวเช่นกัน(Blander, et al., 2008)

ที่มา

  • Blander, G., Bhimavarapu, A., Mammone, T., Maes, D., Elliston, K., Reich, C., ... & Loureiro, J. J. (2008). SIRT1 promotes differentiation of normal human keratinocytes. Journal of Investigative Dermatology, 129(1), 41-49.


ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสจึงลดการสร้างเม็ดสีช่วยให้ผิวขาว


เรสเวอราทรอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งยับยั้งได้ดีกว่า กรดพีคูมาริก(p-coumaric acid) และ อาร์บูติน(Arbutin)(Park & Boo, 2013)

ที่มา

  • Park, J., & Boo, Y. C. (2013). Isolation of Resveratrol from Vitis Viniferae Caulis and Its Potent Inhibition of Human Tyrosinase. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2013.

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สารสกัดจากองุ่น และ การป้องกันโรคมะเร็ง


ถ้าใครเคยได้อ่านบทความจาก สารสกัดจากองุ่นแดง "ลดโรค ชลอวัย ยืดอายุ" จะพอทราบว่าองุ่นแดงจัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากสารประกอบฟินอลิกที่พบในองุ่นแดง

ส่วนขององุ่นแดงที่มักจะพบสารประกอบฟินอลิกสูงคือ ส่วนผิวองุ่น และ เมล็ดองุ่น โดยที่ส่วนผิวองุ่นสารประกอบฟินอลิกที่เป็นตัวเด่นคือ เรสเวอราทรอล และ แอนโธไซยานิน ส่วนที่เมล็ดองุ่นคือ โปรแอนโธไซยานิดิน

ในบทความนี้จะกล่าวถึงสารสกัดจากผิวองุ่น หรือเรสเวอราทรอล และสารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือโปรไซยานิดินต่อความสามารถในการป้องกัน หรือ ต้านโรคมะเร็ง

เรสเวอราทรอล กับ การต้านมะเร็ง


เรสเวอราทรอล (Resveratrol หรือ trans-3, 4′, 5-trihydroxystilbene) เป็นสารประกอบฟินอลิกที่อยู่ในกลุ่มสติลบีนอยด์(Stilbenoid)  และจัดเป็นสารไฟโตอลีซิน(Phytoalexins) ซึ่งพืชผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ และโรคพืชต่างๆ

เชื่อว่าเรสเวอราทรอลเป็นสารที่มีผลกระทบต่อขั้นตอนในการพัฒนาการของโรคมะเร็ง ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น(Initiation) ขั้นก่อตัว(Promotion) และขั้นลุกลาม(Progression) โดยมีการศึกษามากมายในเซลล์มนุษย์ที่พบว่า เรสเวอราทรอลสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง เร่งการตายของเซลล์มะเร็ง และควบคุมกลไกการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง[1]

นอกจากนี้เรสเวอราทรอลยังมีฤทธิ์ส่งเสริมการรักษามะเร็งด้วยวิธีฉายแสง และยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง

เรสเวอราทรอลมีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งต่างๆ ในมนุษย์[2] ได้แก่

  • มะเร็งผิวหนัง
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่

เรสเวอราทรอลเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแตกตัวเป็นเมตาบอไลท์ต่างๆ ไ้ด้เร็วมากทำให้ค่าประสิทธิผลทางชีวภาพ(Bioavailability)ของเรสเวอราทรอลมีค่าต่ำ เนื่องจากร่างกายยังไ่ม่ทันได้ใช้ก็แตกตัวแล้ว จึงทำให้นักวิจัยทั้งหลายเป็นกังวลถึงประสิทธิภาพของเรสเวอราทรอลต่อการนำไปใช้ในการรักษาหรือป้องกันโรค ซึ่งก็ได้มีความพยายยามที่คิดค้นสารสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายเรสเวอราทรอลเพื่อต้องการเพิ่มความคงตัวเมื่ออยู่ในร่างกาย

แต่ก็มีงานวิจัยล่าสุดในปี 2013 ที่พบว่าถึงแม้เรสเวอราทรอลเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแตกตัวเป็นเมตาบอไลท์ต่างๆ แต่เมตาบอไลท์เหล่านั้นสามารถรวมตัวกลับได้ และยังคงมีประสิทธิภาพในการต้าน หรือป้องกันโรคมะเร็งได้ดังเดิม[3,4] ดังนั้นจึงอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคิดค้นเรสเวอราทรอลชนิดสังเคราะห์ เนื่องจากโดยแท้จริงแล้วเรสเวอราทรอลจากธรรมชาติก็มีประสิทธิภาพที่ดีอยู่แล้ว[4]

โปรแอนโธไซยานิดิน กับ การต้านมะเร็ง


สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือ โปรแอนโธไซยานิดิน เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกัน และต้านโรคมะเร็งได้[5] อันได้แก่

  • มะเร็งผิวหนัง
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งช่องปาก


นอกจากนี้นักวิจัยจากศูนย์วิจัยมะเร็งรัฐโคโลราโด้ได้รายงานว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีความสามารถในการเจาะจงในการกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดีโดยที่ไม่ส่งผลต่อเซลล์ปรกติ และโดยเฉพาะยิ่งเป็นเซลล์ที่มีการลุกลามของมะเร็งมากสารสกัดจากเมล็ดองุ่นยิ่งเข้าไปกระตุ้นการตายได้มากขึ้น[6]


  1. Athar, M., Back, J. H., Tang, X., Kim, K. H., Kopelovich, L., Bickers, D. R., & Kim, A. L. (2007). Resveratrol: a review of preclinical studies for human cancer prevention. Toxicology and applied pharmacology, 224(3), 274-283.
  2. Srivastava, P., Prabhu, V. V., Yadav, N., Gogada, R., & Chandra, D. (2013). Effect of Dietary Resveratrol in the Treatment of Cancer. In Cancer Chemoprevention and Treatment by Diet Therapy (pp. 1-22). Springer Netherlands.
  3. Patel, K. R., Andreadi, C., Britton, R. G., Horner-Glister, E., Karmokar, A., Sale, S., ... & Brown, K. (2013). Sulfate Metabolites Provide an Intracellular Pool for Resveratrol Generation and Induce Autophagy with Senescence.Science Translational Medicine, 5(205), 205ra133-205ra133.
  4. Jonathan Benson. (2013). Resveratrol keeps fighting cancer even after body breaks it down into other compounds. (online). Available: http://www.naturalnews.com/042399_resveratrol_cancer_treatment_metabolic_process.html [Cited October 10, 2013]
  5. Kaur, M., Agarwal, C., & Agarwal, R. (2009). Anticancer and cancer chemopreventive potential of grape seed extract and other grape-based products.The Journal of nutrition, 139(9), 1806S-1812S.
  6. Derry, M., Raina, K., Agarwal, R., & Agarwal, C. (2012). Differential effects of grape seed extract against human colorectal cancer cell lines: the intricate role of death receptors and mitochondria. Cancer letters.

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Resveratrol และ ยีน SIRT1

ยีน SIRT1

เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการต้านความเครียดอ๊อกซิเดชั่น(Oxidative Stress) ภายในร่างกาย ซึ่งอาจเรียกยีนนี้ว่า “ยีนกู้ภัย” (Rescue gene) ยีนนี้จะอยู่ในสายดีเอนเอ บนตำแหน่งแขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 10 บริเวณแถบหลัก(band)ที่ 21 และแถบย่อย(sub band)ที่3 (10q21.3) และโดยปรกติมักจะอยู่ในรูปไม่พร้อมใช้งาน (inactive)

This gene SIRT1 maps on chromosome 10, at 10q21.3 according to Entrez Gene


เกิดอะไรขึ้นเมือยีน SIRT1 ถูกกระตุ้น(active)

เมื่อยีน SIRT1 ถูกระตุ้น จะมีการผลิตโปรตีน เซอร์ตูอิน(Sirtuin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ปกป้องเซลล์จากการอักเสบ และภาวะเครียดอ๊อกซิเดชั่น ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนี้เป็นสาเหตุหลักของความชราภาพ และ โรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกายต่างๆ(Degenerative Disease)



อะไรที่สามารถกระตุ้นยีน SIRT1 ได้

จากการศึกษาในขั้นต้นเชื่อว่ามีอยู่ 2 ปัจจัยหลักที่สามารถกระตุ้นการทำงานของยีน SIRT1 ได้คือ

  • การจำกัดพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร (Calorie restriction) โดยจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสัตว์ทดลองที่มีการควบคุมอาหารให้ได้รับในประมาณจำกัดจะมีอายุยืนนานกว่าสัตว์ที่ไม่ได้ควบคุม[5,6]
  • การได้รับสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol)[6-10]

Activation of SIRT1 protects against oxidative-stress-associated diseases in multiple systems[11]



SIRT1 effects in mammals. CR or cellular stress increases SIRT1 activity. SIRT1 regulation of age-related metabolic changes including fat storage, insulin secretion, glycolysis, neuroprotection, cardioprotection, and cell survival leads to the potentiation of stress resistance and extended longevity.[12]

SIRT1 กับ โรค

มีหลายงานวิจัยที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของยีน SIRT1 กับการป้องกัน หรือบรรเทาโรคต่างๆดังแสดงในแผนภาพ[11-16]


แหล่งอ้างอิง

  1. Fernández, A. F., & Fraga, M. F. (2011). The effects of the dietary polyphenol resveratrol on human healthy aging and lifespan. Epigenetics, 6(7), 870-874. 
  2. Chong, Z. Z., Shang, Y. C., Wang, S., & Maiese, K. (2012). SIRT1: New avenues of discovery for disorders of oxidative stress. Expert opinion on therapeutic targets, 16(2), 167-178. 
  3. Suvarna, B. S. (2013). Sirtuins: The Future Insight. Kathmandu University Medical Journal, 10(2), 77-82. 
  4. Liu, B., & Zhou, Z. (2013). www. impactaging. com AGING, January 2013, Vol. 5 No. AGING, 5(1).
  5. Anderson, R. M., Shanmuganayagam, D., & Weindruch, R. (2009). Caloric restriction and aging: studies in mice and monkeys. Toxicologic pathology,37(1), 47-51. 
  6. Baur, J. A. (2010). Resveratrol, sirtuins, and the promise of a DR mimetic.Mechanisms of ageing and development, 131(4), 261-269. 
  7. Lakshminarasimhan, M., Rauh, D., Schutkowski, M., & Steegborn, C. (2013). Sirt1 activation by resveratrol is substrate sequence-selective. AGING, 5(3). 
  8. Liu, B., & Zhou, Z. (2013). Activation of SIRT1 by Resveratrol requires lamin A. www. impactaging. com AGING, January 2013, Vol. 5 No. AGING, 5(1). 
  9. Ghosh, S., Liu, B., & Zhou, Z. (2013). Resveratrol activates SIRT1 in a Lamin A-dependent manner. Cell Cycle, 12(6), 0-1. 
  10. Hubbard, B. P., Gomes, A. P., Dai, H., Li, J., Case, A. W., Considine, T., ... & Sinclair, D. A. (2013). Evidence for a Common Mechanism of SIRT1 Regulation by Allosteri Activators. Science, 339(6124), 1216-1219
  11. Chong, Z. Z., Shang, Y. C., Wang, S., & Maiese, K. (2012). SIRT1: New avenues of discovery for disorders of oxidative stress. Expert opinion on therapeutic targets, 16(2), 167-178.
  12. Kim, E. J., & Um, S. J. (2008). SIRT1: roles in aging and cancer. BMB Rep,41(11), 751-756.
  13. Liang, F., Kume, S., & Koya, D. (2009). SIRT1 and insulin resistance. Nature Reviews Endocrinology, 5(7), 367-373. 
  14. Li, X., & Kazgan, N. (2011). Mammalian sirtuins and energy metabolism.International journal of biological sciences, 7(5), 575. 
  15. Price, N. L. (2013). The Role of SIRT1 in Preventing Mitochondrial Dysfunction with Obesity and Aging. 
  16. Kume, S., Kitada, M., Kanasaki, K., Maegawa, H., & Koya, D. (2013). Anti-aging molecule, Sirt1: a novel therapeutic target for diabetic nephropathy.Archives of pharmacal research, 1-7.