หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รับประทานองุ่น บรรเทา ข้ออักเสบ

จากการศึกษาล่าสุด(เมษายน 2014)ของมหาวิทยาลัยเท็กซัสวูเมน (Texas Woman's University) ประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้พบว่าการบริโภคองุ่นทั้งลูกเป็นประจำอาจมีส่วนช่วยให้อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น



โรคข้อเข่าเสื่อมมักเป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุ (มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 45 ปี และมักพบในเพศหญิง) หรือไม่ก็ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งอาการของโรคนี้จะมีอาการปวดเขา มีเสียงในข้อเวลาเคลื่อนไหว และเคลื่อนไหวไม่สะดวกเนื่องจากอาการปวดเขา ซึ่งถ้าเป็นมากๆจะมีอาการอักเสบและเกิดการบวมได้

ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าอักเสบชายหญิงจำนวน 72 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้รับประทานองุ่นทั้งลูก(ในรูปผงที่ทำให้แห้งโดยการแช่แข็ง, freeze-dried powder)ในปริมาณ 47 กรัม และอีกกลุ่มให้รับประทานผงยาหลอก(Placebo) ซึ่งทำการศึกษาเป็นเวลา 4 เดือนพบว่า กลุ่มที่รับประทานองุ่นผงทั้งลูกจะมีอาการปวด และอาการต่างๆของข้อเข่าเสื่อมลดลง ซึ่งผลที่ดีขึ้นนี้จะเห็นได้ชัดในผู้หญิง

และยังพบว่ากลุ่มที่รับประทานองุ่นผงที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี จะสามารถดำเนินกิจกรรมหนักที่ต้องใช้ข้อเขาได้ดีมากขึ้นถึง 70% ในขณะที่กลุ่มที่ใช้ยาหลอกกลับดำเนินกิจกรรมได้ลดลง   สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปพบว่าการดำเนินกิจกรรมหนักลดลงทั้งสองกลุ่ม  เมื่อพิจารณาถึงการอักเสบพบว่ามีการอักเสบเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มแต่กลุ่มที่ได้ยาหลอกมีการอักเสบเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับผงองุ่นประมาณ 3 เท่า

ซึ่งจากการศึกษาเชื่อว่าการบริโภคองุ่นทั้งลูกซึ่งสารสำคัญที่พบในผลองุ่นนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อมได้ และอาจเป็นประโยชน์ในผู้ที่มีอาการในกลุ่มนี้


ที่มา

Tiernan, C., Small, R., Kwon, Y. H., Paulson, R., DiMarco, N., Imrhan, V., ... & Juma, S. (2014). Consumption of whole grape powder reduces joint pain and influences serum biomarkers in individuals with self-reported knee osteoarthritis (1025.10). The FASEB Journal28(1 Supplement), 1025-10.

Small, R., Tiernan, C., Kwon, Y. H., Paulson, R., Imrhan, V., Prasad, C., ... & Juma, S. (2014). Age-associated effect of freeze-dried grape powder on inflammatory markers and physical activity in adults with knee osteoarthritis (1025.8). The FASEB Journal28(1 Supplement), 1025-8.


วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Grape Flavonoids and Human Health

ฟลาโวนอยด์จากองุ่นดีต่อสุขภาพ


ฟลาโวนอยด์(Falvonoid) หรือไบโอฟลาโวนอยด์(Bio Flavonoid) คือ สารเมตาบอไลท์ทุติยภูมิ(Secondary Metabolite)ที่ได้จากพืชที่อยู่ในกลุ่มของสารประกอบฟินอลิก(Phenolic Compound) ซึ่งตัวอย่างที่พบในธรรมชาติได้แก่
  • ฟลาโวนอล(Flavonol) เช่น รูทิน(Rutin), เควอซิทิน(Quercetin), แคมพ์ฟิรอล(Kaempferol) และไมริซีทิน(Myricetin) เป็นต้น
  • ฟลาวาโนน(Flavanone) เช่น เอสเพอริดิน(Hesperidin) และนาริจิน(Naringin)เป็นต้น
  • ฟลาวานอล(Flavanol หรือ Flavan-3-ol) เช่น คาทิชิน(Catechin), ธีฟลาวิน(Theaflavin), โพรแอนโธไซยานิดิน(Proanthocyanidin)
  • ฟลาโวน(Flavone) เช่น อพิจินิน(apiginin)
  • แอนโธไซยานิน(Anthocyanin)






 
Photo CR: http://www.grit.com

ฟลาโวนอยด์ที่พบในองุ่น ได้แก่
แอนโธไซยานิน  พบมากในเปลือกองุ่นที่มีสีแดง หรือม่วงแดง (ไม่พบในองุ่นขาว)
ฟลาวานอล           พบมากในเมล็ดองุ่น โดยพบในเมล็ดองุ่นขาว(46-56% ของสารฟินอลิกทั้งหมด) มากกว่าเมล็ดองุ่นแดง(13-30% ของสารฟินอลิกทั้งหมด)
ฟลาโวนอล           พบในเปลือกองุ่นทั้งแดงและขาว แต่องุ่นแดงจะพบไมริซิทินด้วยในขณะที่องุ่นขาวไม่พบ

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าฟลาโวนอยด์ที่พบในองุ่นส่วนใหญ่จะพบที่เปลือก และเมล็ด


ประโยชน์ของฟลาโวนอยด์ในองุ่นต่อสุขภาพมนุษย์

คุณสมบัติเด่นของฟลาโวนอยด์ที่พบในองุ่นคือ ต้านอักเสบ และต้านออกซิเดชั่นซึ่งเป็นประโยชนต่อ
  • การทำงานของสมอง โดยสามารถป้องกันและบรรเทาโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของระบบสมองและประสาทได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • ป้องกันการเกิดโรคอ้วน และเบาหวาน
  • ปกป้องตับจากพิษของสารเคมีต่างๆ เช่นอัลกอฮอล์ ป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ
  • ป้องกันโรคหัวใจโดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเยื้อบุผนังหลอดเลือด ลดระดับไขมันและคอลเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือด ต้านอักเสบ ลดการเกิดลิ่มเลือด
  • ป้องกันโรคมะเร็ง เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง






ที่มา
Wikipedia. (2014). Flavonoids (Online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Flavonoid [5 Feb 2014]

Georgiev, V., Ananga, A., & Tsolova, V. (2014). Recent Advances and Uses of Grape Flavonoids as Nutraceuticals. Nutrients, 6(1), 391-415.