หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของ เรสเวอราทรอล(Resveratrol) สารสกัดจากองุ่นแดง ต้านชราภาพ

เรสเวอราทรอล เป็นสารประกอบโพลีฟีนอลที่พบในพืชไม่กี่ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ องุ่น และผลิตภัณฑ์จากองุ่น เช่นน้ำองุ่น และไวน์แดง โดยจะพบมากในส่วนของเปลือกองุ่น

มีรายงาน และงานวิจัยจำนวนมากที่กล่าวถึงคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเรสเวอราทรอล ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น และการต้านอักเสบ แต่ที่ทำให้เรสเวอราทรอลเป็นที่สนใจในวงการวิจัยอย่างมากคือ ความเชื่อที่ว่า  เรสเวอราทรอล สามารถกระตุ้นการทำงานของยีน SIRT1 ซึ่งเป็นยีนที่เชื่อกันว่าเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะชราภาพต่างๆ

พูดถึงเรื่องความแก่ หลายคนคงเริ่มสนใจ งั้นเราลองมาดูประวัติความเป็นมาของเรสเวอราทรอลดูว่ามีที่มากันอย่างไร


ประมาณ 450 ปีก่อนคริสตกาล

ฮิปโปเครติส นายแพทย์กรีกโบราณ(ปัจจุบันได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนตะวันตก) ได้แนะนำให้ใช้ไวน์ในการรักษาไข้, โรคติดเชื้อ, ขับปัสสาวะ และเป็นอาหารเสริมทางโภชนาการ[1]

ประมาณ 2000 ปีที่แล้ว

ตำรับสมุนไพรโบราณของอินเดีย"darakchasava" ซึ่งมีองุ่นสกุล Vitis vinifera L. เป็นส่วนประกอบหลัก ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ[2]

ค.ศ.1410 

รายงานเป็นทางการฉบับแรกที่กล่าวถึงประโยชน์ของสารประกอบฟินอลิกในไวน์แดงต่อสุขภาพของมนุษย์[1]

ค.ศ. 1819 

Samuel Black นายแพทย์ชาวไอริช เป็นนายแพทย์คนแรกที่ได้ตั้งข้อสังเกตุการระบาดวิทยายของประชากรฝรั่งเศษ โดยพบว่าชาวฝรั่งเศษมีอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจต่ำถึงแม้ว่าจะมีการบริโภคไขมันอิ่มตัวสูง[1]

ค.ศ.1939-1940

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นค้นพบ และสามารถสกัดได้จากรากพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรค ที่ชื่อ White Hellebore (Veratrum grandiflorum O. Loes) ซึ่งเป็นพืชแถบยุโรปที่ถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้ตั้งชื่อสารนั้นว่า "Resveratrol"[3,4]

ค.ศ. 1963 

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบสาร Resveratrol ในรากผักไผ่น้ำญี่ปุ่น(Japanese Knotweed) ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาในประเทศญี่ปุ่น และจีน[5]

ค.ศ. 1976 

พบว่า Resveratrol มีเฉพาะในผิวและเมล็ดองุ่นและพบว่า Resveratrol สามารถต้านเชื้อราและป้องกันโรคในองุ่นได้[6]

ค.ศ. 1979 

Jean Richard นักหัวใจวิทยาพบว่าอุบัติการเกิดโรคหัวใจขาวชาวฝรั่งเศษน้อยกว่าชาวยุโรปประเทศอื่นๆซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวไม่แต่กต่างกัน และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจใกล้เคียงกับประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีการบริโภคไขมันน้อย[7] ในปีเดียวกัน St. Leger และคณะเป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่อธิบายถึงการดื่มไวน์ในปริมาณปานกลางช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจได้ในหลายๆประเทศ[8]

ช่วงยุค 80

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสาร Resveratrol ต่อสุขภาพและความสามารถในการป้องกันโรคแต่ยังไม่เป็นที่สนใจต่อประเทศต่างๆเท่าไหร่นัก

ค.ศ. 1981-1987

Jean Richard ได้สร้างแนวคิด "ปฏิทรรศน์ฝรั่งเศษ (French Paradox) หรือ Le paradoxe francais" ขึ้นมา[9,10]

ค.ศ.1991

Serge Renaud นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศษได้ออกรายการ "60 Minute" ที่แพร่ภาพในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวฝรั่งเศษที่มีอัตราการเกิดโรคหัวใจที่ต่ำถึงแม้จะมีการบริโภคไขมันอิ่มตัวสูงนั้นมีสาเหตุมาจากการบริโภคไวน์แดง ทำให้ยอดขายไวน์แดงในอเมริกาเพิ่มขึ้น 44% และผู้ค้าไวน์บางรายได้ประชาสัมพันธ์ว่าไวน์แดงจัดเป็นอาหารสุขภาพ ทำให้ปรากฏการณ์ French Paradox เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และ Serge Renaud จึงได้ฉายาว่าบิดาแห่ง French Paradox

ค.ศ. 1992

Serge Renaud ได้เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันการเกาะกันของเกร็ดเลือดของไวน์แดงซึ่งมีส่วนช่วยในการเกิดโรคหัวใจในประชากรฝรั่งเศษ[11] 
Siemann และ Creasy ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณ Resveratrol ในไวน์แดงยี่ห้อต่างๆที่มีขายในท้องตลาด และเชื่อว่าสารนี้มีความเกี่ยวข้องกับการลดอัตราการเกิดโรคหัวใจในผู้ที่ดื่มไวน์แดง[12]

ช่วงยุค 90 (หลังค.ศ. 1992)

ภายหลังปรากฏการณ์ French Paradox ได้เผยแพร่ออกทางสื่อ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจึงหันมาสนใจสาร Resveratrol เป็นอย่างมากและได้มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของสาร Resveratrol ต่อสุขภาพและการป้องกันโรคต่างๆ

ค.ศ. 1997

Jang และคณะได้พบว่า Resveratrol มีคุณสมบัติในการรักษาและต้านโรคมะเร็ง[13]

ค.ศ.2003 

Resveratrol กลายเป็นสารที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากขึ้นเมื่อ Howitz และคณะได้พบว่า Resveratrol มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการทำงานของยีน SIR2 ในยีสต์(ในมนุษย์จะเป็นยีน SIRT1) ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Sirtuin และส่งผสให้ยีสต์มีอายุขัยที่ยาวนานขึ้น เช่นเดียวกับการกำจัดอาหาร (carolie restriction)[14]

ค.ศ.2004

พบว่า Resveratrol สามารถกระตุ้นยีน SIR2 ในหนอน และแมลง[15]

ค.ศ. 2006


ได้มีการทดลองในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรกโดยเลือกปลาสายพันธ์ที่มีอายุสั้น(ประมาณ13 สัปดาห์) พบว่า Resveratrol สามารถยืดอายุขัยได้[16] 
ได้มีการทดลองในหนูที่มีการกินอาหารไขมันสูงพบว่า Resveratrol ทำให้หนูเหล่านี้มีอัตราการอยู่รอดเพิ่มขึ้น[17] 
นอกจากนี้ยังพบว่าหนูที่ได้รับ Resveratrol มีกระบวนการเผาผลาญที่ดีขึ้นและสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากภาวะเมตาบอลิกได้[18] 
อย่างไรก็ดีกลไกในการกระตุ้นการทำงานของยีน SIRT1ของ Resveratrol ยังไม่เป็นที่แน่ชัดซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาต่อไป รวมถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ และความสามารถในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ โรคสมอง และโรคที่เกิดจากความชราต่างๆ[19,20]

ค.ศ.2012-2013

พบว่าResveratrol สามารถยืดอายุในหนูที่ป่วยเป็นโรคแก่ก่อนวัยอันควร(Progeria)[21]ทำให้กลไกในการกระตุ้นยีน SIRT1 ของResveratrol เริ่มเป็นที่แน่ชัดขึ้น[22,23,24,25] นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถยืดอายุได้ในหนูที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อเร่งภาวะชรา(SAMP 8)และหนูปรกติที่มีสายพันธุ์เดียวกัน[26]
รูปที่แสดงถึงความเป็นไปได้ของความเกี่ยวข้องระหว่าง  SirT1 กับ เซลล์ต้นกำเนิด, ภาวชราภาพ และกระบวนการมะเร็ง[27] 

ที่มา

  1. Lippi, G., Franchini, M., & Guidi, G. C. (2010). Red wine and cardiovascular health: the" French Paradox" revisted. International Journal of Wine Research,2, 1-7.
  2. Paul B, Masih I, Deopujari J and Charpentier C: Occurrence of resveratrol and pterostilbene in age-old darakchasava, an ayurvedic medicine from India. J Ethnopharmacol 68: 71-76, 1999.
  3. Resveratrol, a new phenolic compound, from Veratrum grandiflorum. M Takaoka, Journal of the Chemical Society of Japan, 1939, volume 60, pages 1090-1100(in Japanese)
  4. Takaoka, M. J. Of the phenolic substances of white hellebore (Veratrum grandiflorum Loes. fil.). J. Faculty Sci. Hokkaido Imperial University 3, 1–16 (1940).
  5. Nonomura, S., Kanagawa, H. & Makimoto, A. Chemical constituents of polygonaceous plants. I. Studies on the components of Ko-jo-kon (Polygonum cuspidatum Sieb. et Zucc.). Yakugaku Zasshi 83, 988–990 (1963).
  6. Langcake, P.; Pryce, R. J. The production of resveratrol by Vitis Vinifera and other members of the Vitaceae as a response to infection or injury. Physiol. Plant Pathol. 1976, 9, 77-86.
  7. Richard, J. L., Ducimetière, P., & Cambien, F. (1979). [Estimation of coronary disease mortality and morbidity in France from epidemiological data]. Archives des maladies du coeur et des vaisseaux, 72(2), 210.
  8. Leger, A. S., Cochrane, A. L., & Moore, F. (1979). Factors associated with cardiac mortality in developed countries with particular reference to the consumption of wine. The Lancet, 313(8124), 1017-1020.
  9. Richard JL, Cambien F, Ducimetière P. Epidemiologic characteristics of coronary disease in France.Nouv Presse Med 1981;10:1111–4.
  10. Richard, J. L. (1987). Coronary risk factors. The French paradox]. Archives des maladies du coeur et des vaisseaux, 80, 17.
  11. Renaud S., de Lorgeril M. (1992). Wine, alcohol, platelets, and the French paradox for coronary heart disease. Lancet 339, 1523–1526. doi: 10.1016/0140-6736(92)91277-F. 
  12. Siemann, E. H., & Creasy, L. L. (1992). Concentration of the phytoalexin resveratrol in wine. American Journal of Enology and Viticulture, 43(1), 49-52.
  13. Jang M,  Cai  L, Udeani GO,  Slowing  KV,  Thomas  CF,  Beecher CW,  Fong  HH,  Farnsworth NR, Kinghorn  AD, Mehta  RG, Moon RC,  and  Pezzuto  JM.  Cancer  chemopreventive  activity  of resveratrol,  a  natural  product  derived  from  grapes.  Science.1997; 275: 218220. 
  14. Howitz  KT,  Bitterman  KJ,  Cohen  HY,  Lamming  DW,  Lavu  S,Wood JG, Zipkin RE, Chung P, Kisielewski A, Zhang LL, Scherer B,and  Sinclair  DA.  Small  molecule  activators  of  sirtuins  extend Saccharomyces cerevisiae lifespan. Nature. 2003; 425191196. 
  15. Wood, J. G., Rogina, B., Lavu, S., Howitz, K., Helfand, S. L., Tatar, M., & Sinclair, D. (2004). Sirtuin activators mimic caloric restriction and delay ageing in metazoans. Nature, 430(7000), 686-689.
  16. Valenzano, D. R., Terzibasi, E., Genade, T., Cattaneo, A., Domenici, L., & Cellerino, A. (2006). Resveratrol prolongs lifespan and retards the onset of age-related markers in a short-lived vertebrate. Current Biology, 16(3), 296-300.
  17. Baur, J. A., Pearson, K. J., Price, N. L., Jamieson, H. A., Lerin, C., Kalra, A., ... & Sinclair, D. A. (2006). Resveratrol improves health and survival of mice on a high-calorie diet. Nature, 444(7117), 337-342.
  18. Lagouge M, Argmann C, GerhartHines Z, Meziane H, Lerin C,Daussin  F, Messadeq  N, Milne  J,  Lambert  P,  Elliott  P,  Geny  B,Laakso  M,  Puigserver  P,  and  Auwerx  J.  Resveratrol  improves mitochondrial  function  and  protects  against metabolic  disease by activating SIRT1 and PGC1alpha. Cell. 2006; 127: 11091122
  19. Fernández, A. F., & Fraga, M. F. (2011). The effects of the dietary polyphenol resveratrol on human healthy aging and lifespan. Epigenetics, 6(7), 870-874.
  20. Timmers, S., Auwerx, J., & Schrauwen, P. (2012). The journey of resveratrol from yeast to human. Aging (Albany NY), 4(3), 146.
  21. Liu B, Ghosh S, Xi Y, Zheng H, Liu X, Wang Z, et al. Resveratrol rescues Sirt1 dependent adult stem cell decline and alleviates progeroid features in laminopathy-based progeria . 2012; 16:738-50.
  22. Lakshminarasimhan, M., Rauh, D., Schutkowski, M., & Steegborn, C. (2013). Sirt1 activation by resveratrol is substrate sequence-selective. AGING, 5(3).
  23. Liu, B., & Zhou, Z. (2013). Activation of SIRT1 by Resveratrol requires lamin A. www. impactaging. com AGING, January 2013, Vol. 5 No. AGING, 5(1).
  24. Ghosh, S., Liu, B., & Zhou, Z. (2013). Resveratrol activates SIRT1 in a Lamin A-dependent manner. Cell Cycle, 12(6), 0-1.
  25. Hubbard, B. P., Gomes, A. P., Dai, H., Li, J., Case, A. W., Considine, T., ... & Sinclair, D. A. (2013). Evidence for a Common Mechanism of SIRT1 Regulation by Allosteri Activators. Science, 339(6124), 1216-1219.
  26. Porquet, D., Casadesús, G., Bayod, S., Vicente, A., Canudas, A. M., Vilaplana, J., ... & del Valle, J. (2012). Dietary resveratrol prevents
  27. Calvanese, V., & Fraga, M. F. (2011). SirT1 brings stemness closer to cancer and aging. Aging (Albany NY)3(2), 162.

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

สารสกัดจากองุ่นแดง “ลดโรค ชะลอวัย ยืดอายุ”

French Red Grape
Pic from http://www.articlesworthreading.com

มารู้จักองุ่นกัน

องุ่นเป็นผลไม้ที่มีประวัติการรับประทานมายาวนานมากซึ่งนิยมใช้ในการทำไวน์ระหว่างช่วงยุคกรีกโบราณ และอารยธรรมโรมัน
องุ่นเป็นผลของพืชไม้เถาสกุล(Genus) วิทิส(Vitis) โดยปัจจุบันมีสามประเภท(Species)หลัก ได้แก่
  • องุ่นยุโรป : Vitis vinifera
  • องุ่นอเมริกาเหนือ : Vitis labrusca และ Vitis rotundifolia
  • องุ่นสายพันธุ์ผสมฝรั่งเศษ
นอกจากนี้องุ่นยังสามารถแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้เช่น
  • Table grapes คือ องุ่นที่กินเป็นผลไม้
  • Wine grapes คือ องุ่นที่ใช้ทำไวน์
  • Raisin grapes คือ องุ่นที่ใช้ทำลูกเกด


สารประกอบฟินอลิกในองุ่น

Pic from http://iconiclook.com/
องุ่นจัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากโดยนอกจากสารอาหารจำพวกวิตามิน และเกลือแร่แล้ว องุ่นยังเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยพฤกษเคมี (Phytochemicals)ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สารประกอบฟินอลิกที่พบในองุ่นหลักๆ ได้แก่ แอนโธไซยานิน, ฟลาวานอล (flavanol), ฟลาโวนอล(flavonol), โปรไซยานิดิน(procyanidins), สติลบีน(stilbenes) และ กรดฟินอลิก(Phenolic acid)

ปริมาณสารประกอบฟินอลิกแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามสายพันธุ์องุ่น เช่น องุ่นแดงจะอุดมไปด้วยแอนโธไซยานิน ส่วนองุ่นขาวจะอุดมไปด้วยฟลาวานอล

นอกจากสายพันธุ์ที่มีผลต่อปริมาณของชนิดสารประกอบฟินอลิกในแต่ละส่วนขององุ่นก็มีการกระจายของสารประกอบฟินอลิกชนิดต่างๆ แตกต่างกัน(Xia, et al., 2010; Rodrigo, et al., 2011) เช่น

  • เมล็ดองุ่น จะมีสารประกอบฟินอลิกหลัก ได้แก่ 
    • ฟลาวานอล เช่น คาทิชิน(Catechin) 
    • โปรไซยานิดิน(Procyanidins) และ โปรแอนโธไซยานิดิน(Proanthocyanidins) 
    • กรดฟินอลิก เช่น กรดกัลลิก(Gallic acid) 
  • ผิวองุ่น จะมีสารประกอบฟินอลิกหลัก ได้แก่ 
    • แอนโธไซยานิน(Anthocyanins) เช่น มัลวินดิน(Mulvindin) 
    • โปรแอนโธไซยานิดิน(Proanthocyanidins) 
    • ฟลาโวนอล เช่น เควอซิทิน(Quercetin) แคมป์ฟีรอล(Kaempferol) และ ไมริซิทิน(Myricetin) 
    • กรดฟินอลิก เช่น กรดอัลลาจิก(Ellagic acid) 
    • สติลบีน เช่น เรสเวอราทรอล(resveratrol) 
    • อื่นๆ

สารประกอบฟินอลิกในไวน์แดง

ไวน์แดงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการหมักองุ่นแดงด้วยยีสต์และได้อัลกอฮอล์ออกมา เนื่องจากในกระบวนการผลิตไวน์จะใช้องุ่นทั้งลูก ดังนั้นสารประกอบฟินอลิกที่พบในไวน์แดงส่วนใหญ่จึงเป็นสารที่สามารถพบได้ทั้งในเปลือก และเมล็ดซึ่งได้แก่ เรสเวอราทรอล, คาทิชิน, เควอซิทิน, มัลวิดิน, โปรไซยานิดิน และอื่นๆ(Rodrigo, et al., 2011)

Red Wine
Pic from http://www.kangarrifictours.com


รับประทานองุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่นดีต่อสุขภาพ


ต้านอนุมูลอิสระ

เมล็ดองุ่น
ต้านออกซิเดชั่นของ LDL ในเลือด โดยจากการศึกษาในมนุษย์พบว่าการได้รับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถลดการออกซิเดชั่นของ LDL ได้(Sano, et al., 2007)
ผิวองุ่น
ต้านออกซิเดชั่นในไขมัน และปรับปรุงประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในหนูทดลองที่มีการให้รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง(Lee, et al., 2009)
ไวน์แดง
เพิ่มประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในเลือดหลังจากการดื่มไวน์แดงในปริมาณ 300 มล.(Whitehead, et al., 1995)
น้ำองุ่นแดง
เพิ่มประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในเลือดทั้งในผู้ที่มีสุขภาพดี และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไต(Castilla, et al., 2006)
หมายเหตุ การรับประทานไวน์แดงจะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อรับประทานในปริมาณน้อย คือ ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน สำหรับผู้หญิง และประมาณ 1-2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย ถ้ารับประทานมากกว่านั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าเนื่องจากความพิษของปริมาณอัลกอฮอล์ที่อยู่ในไวน์แดง


ปกป้องหัวใจ


  • ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจด้วยการลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด, ปรับสัดส่วนส่วนประกอบไขมันในเลือด ลดการออกซิเดชั่นของ LDL และ ลดภาวะอักเสบ( (Tomé‐Carneiro, et al., 2012; Castilla, et al., 2006) 
  • ลดการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด(Wang, et al., 2002) 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผนังหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจ(Lekakis, et al., 2005) 
  • ทำให้หลอดเลือดหัวใจคลายตัวลดความดันโลหิต(Dell'Agli, et al., 2005) 
  • ปกป้องการทำลายของเนื้อเยื้อเนื่องจากภาวะหัวใจขาดเลือด( ischemic reperfusion injury) (Falchi, et al., 2006)

pic from http://worldofwhimm.files.wordpress.com


ต้านมะเร็ง


การรับประทานส่วนประกอบขององุ่นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งเต้านม และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งสารสกัดจากองุ่นมีคุณสมบัติทั้งในการป้องกันโรคมะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็ง (Zhou และ Raffoul, 2012)
  • ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม(Damianaki, et al., 2000)
  • ต้านมะเร็งผิวหนัง(Niles, et al., 2003) และมะเร็งอื่นๆ(Athar, et al., 2007)
  • กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก(Hudson, et al., 2007)
  • ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เนื้องอกลำไส้ใหญ่(Lazze, et al., 2009)

ต้านอักเสบ


  • มีคุณสมบัติในการยับยั้งการผลิตสารก่ออักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกัน(Xia, et al., 2010)

ต้านภาวะชราภาพ


เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นจึงสามารถป้องกันเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ

  • มีคุณสมบัติในการป้องกันดีเอ็นเอในเซลล์เนื้อเยื้อประสาทจากการเกิดออกซิเดชั่นเนื่องจากภาวะชราภาพได้(Balu, et al., 2006) 
  • ลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในระบบประสาทของหนูชรา(Balu, et al., 2005) 
  • ยืดอายุขัยโดยการเพิ่มความทนทานของเซลล์ต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่นโรคหัวใจ และโรคมะเร็งเป็นต้น(Fernández และ Fraga, 2011) 
  • ป้องกันโรคอัลไซเมอร์เนื่องจากภาวะชราภาพ(Siahmard, et al., 2012)

ที่มา

  1. Xia, E. Q., Deng, G. F., Guo, Y. J., & Li, H. B. (2010). Biological activities of polyphenols from grapes. International journal of molecular sciences, 11(2), 622-646.
  2. Rodrigo, R., Miranda, A., & Vergara, L. (2011). Modulation of endogenous antioxidant system by wine polyphenols in human disease. Clinica Chimica Acta, 412(5), 410-424.
  3. Sano, A., Uchida, R., Saito, M., Shioya, N., Komori, Y., Tho, Y., & Hashizume, N. (2007). Beneficial effects of grape seed extract on malondialdehyde-modified LDL. Journal of nutritional science and vitaminology, 53(2), 174-182.
  4. Lee, S. J., Choi, S. K., & Seo, J. S. (2009). Grape skin improves antioxidant capacity in rats fed a high fat diet. Nutrition research and practice, 3(4), 279-285.
  5. Whitehead, T. P., Robinson, D., Allaway, S., Syms, J., & Hale, A. (1995). Effect of red wine ingestion on the antioxidant capacity of serum. Clinical Chemistry, 41(1), 32-35.
  6. Castilla, P., Echarri, R., Dávalos, A., Cerrato, F., Ortega, H., Teruel, J. L., ... & Lasunción, M. A. (2006). Concentrated red grape juice exerts antioxidant, hypolipidemic, and antiinflammatory effects in both hemodialysis patients and healthy subjects. The American journal of clinical nutrition, 84(1), 252-262.
  7. Tomé‐Carneiro, Joao, et al. "Consumption of a grape extract supplement containing resveratrol decreases oxidized LDL and ApoB in patients undergoing primary prevention of cardiovascular disease: A triple‐blind, 6‐month follow‐up, placebo‐controlled, randomized trial." Molecular nutrition & food research 56.5 (2012): 810-821.
  8. Wang, Z. H. I. R. O. N. G., Huang, Y. U. A. N. Z. H. U., Zou, J. I. A. N. G. A. N. G., Cao, K. E. J. I. A. N. G., Xu, Y. I. N. A. N., & Wu, J. M. (2002). Effects of red wine and wine polyphenol resveratrol on platelet aggregation in vivo and in vitro. International journal of molecular medicine, 9, 77-80.
  9. Lekakis, J., et al. "Polyphenolic compounds from red grapes acutely improve endothelial function in patients with coronary heart disease." European journal of cardiovascular prevention and rehabilitation: official journal of the European Society of Cardiology, Working Groups on Epidemiology & Prevention and Cardiac Rehabilitation and Exercise Physiology 12.6 (2005): 596.
  10. Dell'Agli, M., Galli, G. V., Vrhovsek, U., Mattivi, F., & Bosisio, E. (2005). In vitro inhibition of human cGMP-specific phosphodiesterase-5 by polyphenols from red grapes. Journal of agricultural and food chemistry, 53(6), 1960-1965.
  11. Zhou, K., & Raffoul, J. J. (2012). Potential anticancer properties of grape antioxidants. Journal of oncology, 2012.
  12. Damianaki, A., Bakogeorgou, E., Kampa, M., Notas, G., Hatzoglou, A., Panagiotou, S., ... & Castanas, E. (2000). Potent inhibitory action of red wine polyphenols on human breast cancer cells. Journal of cellular biochemistry,78(3), 429-441.
  13. Niles, R. M., McFarland, M., Weimer, M. B., Redkar, A., Fu, Y. M., & Meadows, G. G. (2003). Resveratrol is a potent inducer of apoptosis in human melanoma cells. Cancer letters, 190(2), 157-163.
  14. Athar, M., Back, J. H., Tang, X., Kim, K. H., Kopelovich, L., Bickers, D. R., & Kim, A. L. (2007). Resveratrol: a review of preclinical studies for human cancer prevention. Toxicology and applied pharmacology, 224(3), 274-283.
  15. Hudson, T. S., Hartle, D. K., Hursting, S. D., Nunez, N. P., Wang, T. T., Young, H. A., ... & Green, J. E. (2007). Inhibition of prostate cancer growth by muscadine grape skin extract and resveratrol through distinct mechanisms.Cancer Research, 67(17), 8396-8405.
  16. Falchi, M. A. R. I. O., Bertelli, A. L. D. O., Lo Scalzo, R., Morassut, M., Morelli, R., Das, S., ... & Das, D. K. (2006). Comparison of cardioprotective abilities between the flesh and skin of grapes. Journal of agricultural and food chemistry, 54(18), 6613-6622.
  17. Lazze, M. C., Pizzala, R., Gutiérrez Pecharromán, F. J., Gaton Garnica, P., Antolin Rodriguez, J. M., Fabris, N., & Bianchi, L. (2009). Grape waste extract obtained by supercritical fluid extraction contains bioactive antioxidant molecules and induces antiproliferative effects in human colon adenocarcinoma cells. Journal of Medicinal Food, 12(3), 561-568.
  18. Balu, M., Sangeetha, P., Murali, G., & Panneerselvam, C. (2006). Modulatory role of grape seed extract on age-related oxidative DNA damage in central nervous system of rats. Brain research bulletin, 68(6), 469-473.
  19. Balu, M., Sangeetha, P., Haripriya, D., & Panneerselvam, C. (2005). Rejuvenation of antioxidant system in central nervous system of aged rats by grape seed extract. Neuroscience letters, 383(3), 295-300.
  20. Fernández, A. F., & Fraga, M. F. (2011). The effects of the dietary polyphenol resveratrol on human healthy aging and lifespan. Epigenetics, 6(7), 870-874.
  21. Siahmard, Z., Alaei, H., Reisi, P., & Pilehvarian, A. A. (2012). The effect of red grape juice on Alzheimer's disease in rats. Advanced Biomedical Research,1(1), 63.