หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

สารสกัดจากองุ่นแดง “ลดโรค ชะลอวัย ยืดอายุ”

French Red Grape
Pic from http://www.articlesworthreading.com

มารู้จักองุ่นกัน

องุ่นเป็นผลไม้ที่มีประวัติการรับประทานมายาวนานมากซึ่งนิยมใช้ในการทำไวน์ระหว่างช่วงยุคกรีกโบราณ และอารยธรรมโรมัน
องุ่นเป็นผลของพืชไม้เถาสกุล(Genus) วิทิส(Vitis) โดยปัจจุบันมีสามประเภท(Species)หลัก ได้แก่
  • องุ่นยุโรป : Vitis vinifera
  • องุ่นอเมริกาเหนือ : Vitis labrusca และ Vitis rotundifolia
  • องุ่นสายพันธุ์ผสมฝรั่งเศษ
นอกจากนี้องุ่นยังสามารถแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้เช่น
  • Table grapes คือ องุ่นที่กินเป็นผลไม้
  • Wine grapes คือ องุ่นที่ใช้ทำไวน์
  • Raisin grapes คือ องุ่นที่ใช้ทำลูกเกด


สารประกอบฟินอลิกในองุ่น

Pic from http://iconiclook.com/
องุ่นจัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากโดยนอกจากสารอาหารจำพวกวิตามิน และเกลือแร่แล้ว องุ่นยังเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยพฤกษเคมี (Phytochemicals)ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สารประกอบฟินอลิกที่พบในองุ่นหลักๆ ได้แก่ แอนโธไซยานิน, ฟลาวานอล (flavanol), ฟลาโวนอล(flavonol), โปรไซยานิดิน(procyanidins), สติลบีน(stilbenes) และ กรดฟินอลิก(Phenolic acid)

ปริมาณสารประกอบฟินอลิกแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามสายพันธุ์องุ่น เช่น องุ่นแดงจะอุดมไปด้วยแอนโธไซยานิน ส่วนองุ่นขาวจะอุดมไปด้วยฟลาวานอล

นอกจากสายพันธุ์ที่มีผลต่อปริมาณของชนิดสารประกอบฟินอลิกในแต่ละส่วนขององุ่นก็มีการกระจายของสารประกอบฟินอลิกชนิดต่างๆ แตกต่างกัน(Xia, et al., 2010; Rodrigo, et al., 2011) เช่น

  • เมล็ดองุ่น จะมีสารประกอบฟินอลิกหลัก ได้แก่ 
    • ฟลาวานอล เช่น คาทิชิน(Catechin) 
    • โปรไซยานิดิน(Procyanidins) และ โปรแอนโธไซยานิดิน(Proanthocyanidins) 
    • กรดฟินอลิก เช่น กรดกัลลิก(Gallic acid) 
  • ผิวองุ่น จะมีสารประกอบฟินอลิกหลัก ได้แก่ 
    • แอนโธไซยานิน(Anthocyanins) เช่น มัลวินดิน(Mulvindin) 
    • โปรแอนโธไซยานิดิน(Proanthocyanidins) 
    • ฟลาโวนอล เช่น เควอซิทิน(Quercetin) แคมป์ฟีรอล(Kaempferol) และ ไมริซิทิน(Myricetin) 
    • กรดฟินอลิก เช่น กรดอัลลาจิก(Ellagic acid) 
    • สติลบีน เช่น เรสเวอราทรอล(resveratrol) 
    • อื่นๆ

สารประกอบฟินอลิกในไวน์แดง

ไวน์แดงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการหมักองุ่นแดงด้วยยีสต์และได้อัลกอฮอล์ออกมา เนื่องจากในกระบวนการผลิตไวน์จะใช้องุ่นทั้งลูก ดังนั้นสารประกอบฟินอลิกที่พบในไวน์แดงส่วนใหญ่จึงเป็นสารที่สามารถพบได้ทั้งในเปลือก และเมล็ดซึ่งได้แก่ เรสเวอราทรอล, คาทิชิน, เควอซิทิน, มัลวิดิน, โปรไซยานิดิน และอื่นๆ(Rodrigo, et al., 2011)

Red Wine
Pic from http://www.kangarrifictours.com


รับประทานองุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่นดีต่อสุขภาพ


ต้านอนุมูลอิสระ

เมล็ดองุ่น
ต้านออกซิเดชั่นของ LDL ในเลือด โดยจากการศึกษาในมนุษย์พบว่าการได้รับสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถลดการออกซิเดชั่นของ LDL ได้(Sano, et al., 2007)
ผิวองุ่น
ต้านออกซิเดชั่นในไขมัน และปรับปรุงประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในหนูทดลองที่มีการให้รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง(Lee, et al., 2009)
ไวน์แดง
เพิ่มประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในเลือดหลังจากการดื่มไวน์แดงในปริมาณ 300 มล.(Whitehead, et al., 1995)
น้ำองุ่นแดง
เพิ่มประสิทธิภาพการต้านออกซิเดชั่นในเลือดทั้งในผู้ที่มีสุขภาพดี และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไต(Castilla, et al., 2006)
หมายเหตุ การรับประทานไวน์แดงจะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อรับประทานในปริมาณน้อย คือ ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน สำหรับผู้หญิง และประมาณ 1-2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย ถ้ารับประทานมากกว่านั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าเนื่องจากความพิษของปริมาณอัลกอฮอล์ที่อยู่ในไวน์แดง


ปกป้องหัวใจ


  • ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจด้วยการลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด, ปรับสัดส่วนส่วนประกอบไขมันในเลือด ลดการออกซิเดชั่นของ LDL และ ลดภาวะอักเสบ( (Tomé‐Carneiro, et al., 2012; Castilla, et al., 2006) 
  • ลดการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด(Wang, et al., 2002) 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผนังหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจ(Lekakis, et al., 2005) 
  • ทำให้หลอดเลือดหัวใจคลายตัวลดความดันโลหิต(Dell'Agli, et al., 2005) 
  • ปกป้องการทำลายของเนื้อเยื้อเนื่องจากภาวะหัวใจขาดเลือด( ischemic reperfusion injury) (Falchi, et al., 2006)

pic from http://worldofwhimm.files.wordpress.com


ต้านมะเร็ง


การรับประทานส่วนประกอบขององุ่นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งเต้านม และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งสารสกัดจากองุ่นมีคุณสมบัติทั้งในการป้องกันโรคมะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็ง (Zhou และ Raffoul, 2012)
  • ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม(Damianaki, et al., 2000)
  • ต้านมะเร็งผิวหนัง(Niles, et al., 2003) และมะเร็งอื่นๆ(Athar, et al., 2007)
  • กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก(Hudson, et al., 2007)
  • ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เนื้องอกลำไส้ใหญ่(Lazze, et al., 2009)

ต้านอักเสบ


  • มีคุณสมบัติในการยับยั้งการผลิตสารก่ออักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกัน(Xia, et al., 2010)

ต้านภาวะชราภาพ


เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นจึงสามารถป้องกันเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ

  • มีคุณสมบัติในการป้องกันดีเอ็นเอในเซลล์เนื้อเยื้อประสาทจากการเกิดออกซิเดชั่นเนื่องจากภาวะชราภาพได้(Balu, et al., 2006) 
  • ลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในระบบประสาทของหนูชรา(Balu, et al., 2005) 
  • ยืดอายุขัยโดยการเพิ่มความทนทานของเซลล์ต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่นโรคหัวใจ และโรคมะเร็งเป็นต้น(Fernández และ Fraga, 2011) 
  • ป้องกันโรคอัลไซเมอร์เนื่องจากภาวะชราภาพ(Siahmard, et al., 2012)

ที่มา

  1. Xia, E. Q., Deng, G. F., Guo, Y. J., & Li, H. B. (2010). Biological activities of polyphenols from grapes. International journal of molecular sciences, 11(2), 622-646.
  2. Rodrigo, R., Miranda, A., & Vergara, L. (2011). Modulation of endogenous antioxidant system by wine polyphenols in human disease. Clinica Chimica Acta, 412(5), 410-424.
  3. Sano, A., Uchida, R., Saito, M., Shioya, N., Komori, Y., Tho, Y., & Hashizume, N. (2007). Beneficial effects of grape seed extract on malondialdehyde-modified LDL. Journal of nutritional science and vitaminology, 53(2), 174-182.
  4. Lee, S. J., Choi, S. K., & Seo, J. S. (2009). Grape skin improves antioxidant capacity in rats fed a high fat diet. Nutrition research and practice, 3(4), 279-285.
  5. Whitehead, T. P., Robinson, D., Allaway, S., Syms, J., & Hale, A. (1995). Effect of red wine ingestion on the antioxidant capacity of serum. Clinical Chemistry, 41(1), 32-35.
  6. Castilla, P., Echarri, R., Dávalos, A., Cerrato, F., Ortega, H., Teruel, J. L., ... & Lasunción, M. A. (2006). Concentrated red grape juice exerts antioxidant, hypolipidemic, and antiinflammatory effects in both hemodialysis patients and healthy subjects. The American journal of clinical nutrition, 84(1), 252-262.
  7. Tomé‐Carneiro, Joao, et al. "Consumption of a grape extract supplement containing resveratrol decreases oxidized LDL and ApoB in patients undergoing primary prevention of cardiovascular disease: A triple‐blind, 6‐month follow‐up, placebo‐controlled, randomized trial." Molecular nutrition & food research 56.5 (2012): 810-821.
  8. Wang, Z. H. I. R. O. N. G., Huang, Y. U. A. N. Z. H. U., Zou, J. I. A. N. G. A. N. G., Cao, K. E. J. I. A. N. G., Xu, Y. I. N. A. N., & Wu, J. M. (2002). Effects of red wine and wine polyphenol resveratrol on platelet aggregation in vivo and in vitro. International journal of molecular medicine, 9, 77-80.
  9. Lekakis, J., et al. "Polyphenolic compounds from red grapes acutely improve endothelial function in patients with coronary heart disease." European journal of cardiovascular prevention and rehabilitation: official journal of the European Society of Cardiology, Working Groups on Epidemiology & Prevention and Cardiac Rehabilitation and Exercise Physiology 12.6 (2005): 596.
  10. Dell'Agli, M., Galli, G. V., Vrhovsek, U., Mattivi, F., & Bosisio, E. (2005). In vitro inhibition of human cGMP-specific phosphodiesterase-5 by polyphenols from red grapes. Journal of agricultural and food chemistry, 53(6), 1960-1965.
  11. Zhou, K., & Raffoul, J. J. (2012). Potential anticancer properties of grape antioxidants. Journal of oncology, 2012.
  12. Damianaki, A., Bakogeorgou, E., Kampa, M., Notas, G., Hatzoglou, A., Panagiotou, S., ... & Castanas, E. (2000). Potent inhibitory action of red wine polyphenols on human breast cancer cells. Journal of cellular biochemistry,78(3), 429-441.
  13. Niles, R. M., McFarland, M., Weimer, M. B., Redkar, A., Fu, Y. M., & Meadows, G. G. (2003). Resveratrol is a potent inducer of apoptosis in human melanoma cells. Cancer letters, 190(2), 157-163.
  14. Athar, M., Back, J. H., Tang, X., Kim, K. H., Kopelovich, L., Bickers, D. R., & Kim, A. L. (2007). Resveratrol: a review of preclinical studies for human cancer prevention. Toxicology and applied pharmacology, 224(3), 274-283.
  15. Hudson, T. S., Hartle, D. K., Hursting, S. D., Nunez, N. P., Wang, T. T., Young, H. A., ... & Green, J. E. (2007). Inhibition of prostate cancer growth by muscadine grape skin extract and resveratrol through distinct mechanisms.Cancer Research, 67(17), 8396-8405.
  16. Falchi, M. A. R. I. O., Bertelli, A. L. D. O., Lo Scalzo, R., Morassut, M., Morelli, R., Das, S., ... & Das, D. K. (2006). Comparison of cardioprotective abilities between the flesh and skin of grapes. Journal of agricultural and food chemistry, 54(18), 6613-6622.
  17. Lazze, M. C., Pizzala, R., Gutiérrez Pecharromán, F. J., Gaton Garnica, P., Antolin Rodriguez, J. M., Fabris, N., & Bianchi, L. (2009). Grape waste extract obtained by supercritical fluid extraction contains bioactive antioxidant molecules and induces antiproliferative effects in human colon adenocarcinoma cells. Journal of Medicinal Food, 12(3), 561-568.
  18. Balu, M., Sangeetha, P., Murali, G., & Panneerselvam, C. (2006). Modulatory role of grape seed extract on age-related oxidative DNA damage in central nervous system of rats. Brain research bulletin, 68(6), 469-473.
  19. Balu, M., Sangeetha, P., Haripriya, D., & Panneerselvam, C. (2005). Rejuvenation of antioxidant system in central nervous system of aged rats by grape seed extract. Neuroscience letters, 383(3), 295-300.
  20. Fernández, A. F., & Fraga, M. F. (2011). The effects of the dietary polyphenol resveratrol on human healthy aging and lifespan. Epigenetics, 6(7), 870-874.
  21. Siahmard, Z., Alaei, H., Reisi, P., & Pilehvarian, A. A. (2012). The effect of red grape juice on Alzheimer's disease in rats. Advanced Biomedical Research,1(1), 63.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น