หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Grape skin and Obesity

“อ้วน” คือลักษณะที่มองภายนอกแล้วร่างกายมีรูปร่างที่ท้วม อวบ แต่พิจารณาถึงภายในแล้วความท้วม อวบ นั้นมาจากการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆในร่างกาย 

สาเหตุของความอ้วนที่ทุกคนเข้าใจกันดีคือ การได้รับพลังงานจากอาหารมากกว่าการนำไปใช้ของร่างกาย แต่บางท่านเคยสงสัยมั๊ยว่าบางคนรับประทานอาหารมาก แต่ทำไมไม่ค่อยอ้วน ในขณะที่บางคนระมัดระวังเรื่องการทานแต่ก็ยังอ้วน  นั้นเป็นเพราะระบบการเมตาบอลิซึมของแต่ละคนทำงานไม่เหมือนกัน  คนที่มีประสิทธิภาพการเมตาบอลิซึมสูงจะนำพลังงานจากอาหารไปใช้ได้ดีกว่าคนที่มีประสิทธิภาพต่ำ

การที่ร่างกายเรามีประสิทธิภาพในการเมตาบอลิซึมต่ำไม่ได้นำมาแค่ความอ้วน แต่นำมาซึ่งโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน(ประเภทที่ 2) และโรคเรื้อรังอื่นๆ

กลไกของร่างกายที่จะนำพาไปสู่ความอ้วน

การสะสมไขมันในร่างกาย
ในร่างกายเราจะมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่สะสมไขมันเราเรียกเซลล์นั้นว่า “อดิโพไซท์”(adipocyte) ซึ่งในเซลล์นี้จะประกอบไปด้วยเนื้อเยื้อไขมัน(adipose tissue)ที่ทำหน้าที่กักเก็บไขมันไว้เป็นแหล่งพลังงาน  นอกจากนี้อดิโพไซท์ยังมีความข้องเกี่ยวกับความไวอินซูลิน และการผลิตและหลั่งฮอรโมนต่างๆ เช่นฮอร์โมนเอสโตรเจน, ฮอร์โมนเลปติน(leptin) และอดิโพเนกติน(adiponectin)

ฮอร์โมนเลปติน และอดิโพเนกตินเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการควบคุมความหิวของเรา รวมถึงควบคุมความไวต่ออินซูลินของร่างกายซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

คนอ้วนจะมีการสะสมของมวลไขมันมากกว่าปรกติ ซึ่งจะหมายถึงมีการสะสมของเนื้อเยื้อไขมันในเซลล์อดิโพไซท์มากขึ้นทำให้เซลล์อดิโพไซท์มีขนาดใหญ่ (hypertrophy) รวมถึงการมีจำนวนเซลล์อดิโพไซท์มากขึ้น(hyperplasia)  ซึ่งเป็นเหตุให้ขนาดร่างกาย หรืออวัยวะต่างๆมีขนาดใหญ่ขึ้น

กระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน หรือเซลล์อดิโพไซท์
เริ่มต้นจากเซลล์ตั้งต้น (multipotent mesenchymal stem cell; mms) ซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนเซลล์(proliferation) กลายเป็น เซลล์อดิโพไซท์ขั้นต้น(pre-adipocyte) จากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา(differentiation)จนกลายเป็นเซลล์อดิโพไซท์สมบรูณ์(mature adipocyte) ซึ่งในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนานี้จะมีการทำงานของยีนเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งที่สำคัญได้แก่ PPARg และ C/EBPα โดยถ้ามีการแสดงออกของยีนสองตัวนี้มากก็จะกระตุ้นให้มีการสะสมของไขมันมากขึ้น


การสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันที่จะมาสะสมในเนื้อเยื้อ
การสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ตับ และเนื้อเยื้อไขมัน  ซึ่งเกิดการทำปฏิกิริยาระหว่าง glycerol-3-phosphate และ กรดไขมัน 3 ตัว  โดยมีเอนไซม์มากมายหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้อง  เอนไซม์ที่สำคัญและมีบทบาทสำคัญในการสะสมไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันในเนื้อเยื้อได้แก่

glycerol-3-phosphate dehydrogenase (GPDH) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราห์ glycerol-3-phosphate ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์  มีการศึกษาพบว่าในคนอ้วนเอนไซม์ GPDH จะมีกิจกรรมมากกว่าคนผอมประมาณ 2 เท่า(Swierczynski, et al., 2003)

fatty acid synthase (FAS) เป็นกลุ่มเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมันปาล์มมิติกจาก Acetyl CoA มีการศึกษาพบว่าถ้ามีกิจกรรมของกลุ่มเอนไซม์นี้เพิ่มขึ้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น และความไวต่ออินซูลินลดลงซึ่งอาจเป็นการพัฒนาไปสู่โรคอ้วน และโรคเบาหวาน(Berndt, et al., 2007)


การสังเคราะห์ไขมัน หรือ ไตรกลีเซอไรด์จากคาร์โบไฮเดรตส่วนเกิน
โดยปรกติเมื่อเรารับประทานอาหารประเภทแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะนำเอาไปใช้เพื่อเป็นพลังงานโดยผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึม แต่ถ้าเรารับประทานมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ คาร์โบไฮเดรตส่วนเกิน(ส่วนหนึ่ง)จะถูกนำไปสังเคราะห์เป็นกรดไขมัน แล้วกลายเป็นไขมันสะสมอยู่ในเนื้อเยื้อไขมันของเซลล์อดิโพไซท์ได้


สารสกัดจากเปลือกองุ่นมีคุณสมบัติในการต้านโรคอ้วน

เรสเวอราทรอลเป็นสารที่พบในเปลือกองุ่นแดงซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น, ต้านการกลายพันธุ์, ต้านมะเร็ง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีคุณสมบัติในการต้านโรคอ้วนได้อีกด้วย  ดังเช่นการศึกษาในหนูทดลองที่พบว่าเรสเวอราทรอลสามารถปกป้องการเกิดโรคต่างๆ ในหนูที่ให้กินอาหารที่มีพลังงาน และไขมันสูง(Baur, et al., 2006)

คุณสมบัติในการต้านโรคอ้วนของสารสกัดจากเปลือกองุ่น

หยุดยั้งการสะสมของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์อดิโพไซท์ หรือเซลล์ไขมันโดยการ
  • ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ GPDH(Zhang, et al., 2012)
  • ยับยั้งการแสดงออกของยีน PPARg และ C/EBPα(Zhang, et al., 2012; Jeong, et al., 2011)
  • ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ FAS(Liang, et al., 2013)
  • ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เอลฟาอไมเลส(α-amylase) (Miao, et al., 2014) ซึ่งจะทำให้การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตของร่างกายลดลง เป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และลดโอกาสในการเกิดคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินซึ่งจะกลายเป็นไขมันไปสะสมที่เนื้อเยื้อได้


อย่างไรก็ดีการควบคุมน้ำหนัก หรือการลดความอ้วนที่ดีที่สุดคือ การรับประทานอาหารให้มีพลังงานพอดี (ในกรณีต้องการควบคุม) หรือให้น้อยกว่า(ในกรณีต้องการลดน้ำหนัก) กับพลังงานที่เราใช้ในแต่ละวัน รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา

Swierczynski, J., Zabrocka, L., Goyke, E., Raczynska, S., Adamonis, W., & Sledzinski, Z. (2003). Enhanced glycerol 3-phosphate dehydrogenase activity in adipose tissue of obese humans. Molecular and cellular biochemistry, 254(1-2), 55-59.
Berndt, J., Kovacs, P., Ruschke, K., Klöting, N., Fasshauer, M., Schön, M. R., ... & Blüher, M. (2007). Fatty acid synthase gene expression in human adipose tissue: association with obesity and type 2 diabetes. Diabetologia, 50(7), 1472-1480.
Baur, J. A., Pearson, K. J., Price, N. L., Jamieson, H. A., Lerin, C., Kalra, A., ... & Sinclair, D. A. (2006). Resveratrol improves health and survival of mice on a high-calorie diet. Nature, 444(7117), 337-342.
Zhang, X. H., Huang, B., Choi, S. K., & Seo, J. S. (2012). Anti-obesity effect of resveratrol-amplified grape skin extracts on 3T3-L1 adipocytes differentiation.Nutrition research and practice, 6(4), 286-293.
Jeong, Y. S., Jung, H. K., Cho, K. H., Youn, K. S., & Hong, J. H. (2011). Anti-obesity effect of grape skin extract in 3T3-L1 adipocytes. Food Science and Biotechnology, 20(3), 635-642.
Liang, Y., Tian, W., & Ma, X. (2013). Inhibitory effects of grape skin extract and resveratrol on fatty acid synthase. BMC Complementary and Alternative Medicine, 13, 361 (doi:10.1186/1472-6882-13-361) 
Miao, M., Jiang, H., Jiang, B., Zhang, T., Cui, S. W., & Jin, Z. (2014). Phytonutrients for controlling starch digestion: Evaluation of grape skin extract.Food chemistry, 145, 205-211.

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Resveratrol and Longevity

เรสเวอราทรอล กับ การยืดอายุสิ่งมีชีวิต


เรสเวอราทรอล(Resveratol) กับการศึกษาความสามารถในการยืดอายุสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ


มีการศึกษาที่เผยแพร่ในปี 2012 (Hector, et al., 2012) ที่มีการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน(Meta-Analysis study) โดยมีการรวบรวมงานวิจัยจำนวน 19 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของเรสเวอราทรอลกับความสามารถในการยืดอายุของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ (spices) ต่างๆ โดยหาความสัมพันธ์อัตราการเสี่ยงในการตาย หรือ Hazard Ratio(HR) ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับเรสเวอราทรอล โดยถ้ามีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม แต่ถ้ามีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า กลุ่มที่ได้รับเรสเวอราทรอลมีอัตราความเสี่ยงการตายต่ำกว่า

หัวข้อการศึกษา
Hazard Ratio
ค่าเฉลี่ยรวมทุกการศึกษา
0.629
หนอนตัวกลม (Caenorhabditis elegans)
รูปจาก www.mun.ca

0.510
ยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae)
รูปจากhttp://www.evoluzioneculturale.it

0.574
ปลาครีบคู่ (Nothobranchius furzeri)
รูปจาก www.killi.co.uk

0.401
แมลงวันผลไม้ หรือแมลงวันทอง (Drosophila melanogaster)
รูปจาก http://whyevolutionistrue.wordpress.com


0.796
หนู (Mus musculus)
รูปจาก www.cepbrowser.org

0.865
แมลงวันผลไม้สายพันธ์แมกซิโก(Anastrepha ludens)
รูปจาก www.flickr.com

0.998

หมายเหตุ สิ่งมีชีวิตที่งานวิจัยต่างๆเลือกมาทดลองจะเลือกสายพันธุ์ที่มีอายุสั้นโดยปรกติเพื่อสามารถติดตามดูจนครบอายุได้

จากการศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์พบว่า เรสเวอราทรอลสามารถลดอัตราความเสี่ยงการตายได้ในระดับปานกลางในกลุ่มหนอนตัวกลม ยีสต์ และปลาครีบคู่ ในแมลงวันทองมีแนวโน้มที่จะลดอัตราความเสี่ยงการตายได้ ส่วนในหนู และแมลงวันสายพันธุ์แม็กซิโก มีแนวโน้มที่ลดได้น้อย โดยเฉพาะในแมลงวันสายพันธุ์แม็กซิโกแทบจะไม่มีความแตกต่างจากลุ่มควบคุม

จากการศึกษานี้ยังพบว่าเรสเวอราทรอลมีผลในการลดอัตราความเสียงการตายอย่างมากในปลาครีบคู่ ซึ่งในบางงานวิจัยระบุว่าสามารถลดความเสียงในการตายได้ 500% ทั้งนี้เมื่อพิจารณาพบว่าโดยธรรมชาติของปลาสายพันธุ์นี้เมื่ออายุเยอะมักจะตายเนื่องจากเนื้องอกที่ตับ และไต ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเรสเวอราทรอลมีประสิทธิภาพที่มีความเจาะจงกับการเนื้องอกนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคของเรสเวอราทรอลให้ผลดีกับปลาครีบคู่เป็นพิเศษ

ผลจากงานศึกษานี้ได้ยืนยันถึงการกล่าวอ้างของเรสเวอราทรอลในการยืดอายุสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน หนอนตัวกลุ่ม ยีสต์ และ ปลาครีบคู่

การศึกษานี้เป็นการศึกษาฉบับแรกที่ได้มีการรวบรวมงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรสเวอราทรอลและการยืดอายุสัตว์ทดลองและมีการนำมาวิเคราะห์อภิมาน(meta-analysis)

การศึกษาของเรสเวอราทรอล(Resveratol) ในมนุษย์

ถึงแม้ในมนุษย์ยังไม่มีการศึกษาในสามารถยืนยันได้ว่าเรสเวอราทรอลสามารถยืดอายุได้อย่างเช่นในสัตว์ทดลองแต่ก็มีงานวิจัยหลายงานวิจัยที่สามารถกล่าวได้ว่าเรสเวอราทรอลสามารถ ป้องกัน และบรรเทาโรคร้ายต่างๆซึ่งเป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ได้

จากบทความของ Timmers และคณะ(2012) ได้สรุปงานวิจัยทางคลีนิกต่างๆที่มีการนำเรสเวอราทรอลมาใช้ในมนุษย์ ดังนี้

ภาวะเครียดออกซิเดชั่น และการอักเสบ

  • ลดการผลิตอนุมูลอิสระภายในร่างกายในผู้ใหญ่สุขภาพดี โดยไปลดกิจกรรมของเอนไซม์ และโปรตีนต่างๆที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ และการอักเสบในร่างกาย
  • ลดการเกิดภาวะเครียดออกซิชั่น และภาวะการอักเสบในผู้ชายและหญิงสุขภาพดีภายหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูง

โรคหัวใจหลอดเลือด

  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในผู้ชายและหญิงสุขภาพดี
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เยื้อบุผนังหลอดเลือดแดง(เพิ่มค่า Flow-mediated dilation)ในผู้ชายอ้วน และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เริ่มมีความดันโลหิตสูง(borderline hypertension)

โรคมะเร็ง

  • ยับยั้งวิถี Wnt(Wnt pathway) ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ลดการแบ่งตัวของเนื้องอกลง 5% ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษ และสารก่อมะเร็งในผู้ชาย และหญิงสุขภาพดี
  • ลดการหลั่งฮอรโมน IGF-1 และ IGFBP-3 ในผู้ชาย และหญิงสุขภาพดีซึ่งมีสวนช่วยในการป้องกันมะเร็ง

เบาหวาน และโรคอ้วน

เริ่มจากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าเรสเวอราทรอลสามารถเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน(insulin sensitivity) และสามารถเพิ่มอัตราการใช้พลังงาน(energy expenditure ) ความสนใจในประสิทธิภาพของเรสเวอราทรอลในการนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคอ้วนจึงได้เริ่มขึ้น โดยเมื่อมีการนำไปใช้ในคนพบว่า
  • สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการอดอาหาร และหลังมื้ออาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  • ลดภาวะดื้ออินซูลิน และภาวะเครียดออกซิเดชั่นในผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ลดระดับน้ำตาลสูงสุด(peak glucose)หลังมื้ออาหาร และระดับน้ำตาลภายหลังมื้ออาหาร 3 ชั่วโมง และเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดสู่เนื้อเยื้อในผู้สูงอายุที่มีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง(impaired glucose tolerance)
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารของคนอ้วนสุขภาพดี และยังส่งผลในการลดระดับน้ำตาล และอินซูลินในเลือด ลดการสะสมไขมันที่ตับ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไมโตคอนเดรียในเซลล์กล้ามเนื้อ และลดการอักเสบ


 ที่มาของข้อมูล
  • Hector, K. L., Lagisz, M., & Nakagawa, S. (2012). The effect of resveratrol on longevity across species: a meta-analysis. Biology Letters, 8(5), 790-793.
  • Timmers, S., Auwerx, J., & Schrauwen, P. (2012). The journey of resveratrol from yeast to human. Aging (Albany NY), 4(3), 146.

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Resveratrol and Skin Aging


Skin Aging: The visible aging process

ภาวะความชราภาพ คือการเสื่อมของระบบการทำงานของร่างกายเนื่องจากสาเหตุต่างๆทั้งภายในร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ทำให้การทำงานของร่างกายผิดปรกติ และเกิดโรคต่างๆซึ่งมีเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งความผิดปรกติของร่างกายภายในไม่สามารถมองเห็นได้นอกจากมีการตรวจสอบอย่างละเอียด แต่สิ่งที่สามารถปรากฏได้ชัดเนื่องจากภาวะความชราภาพคือ รอยเหี่ยวย่นของผิวที่ปรากฏภายนอกซึ่งเรียกว่า skin aging  ดังนั้นเมื่อพูดถึงความชราภาพคนส่วนใหญ่มักนึกถึงรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนังเป็นอันดับแรก  ไม่มีใครอยากดูแก่ด้วยเหตุนี้จึงมีงานวิจัยมากมายที่พยายามหาวิธีการชะลอความชราภาพ

Skin Aging เกิดจากอะไร


ประเภทความเสื่อมสภาพของผิวสามารถแบ่งออกเป็นสองแบบหลักๆ คือ
I)        ความเสื่อมของผิวตามวัย (Chronological aging) ซึ่งเกิดจากอนุมูลอิสระภายในร่างกายจากกระบวนการเผาผลาญ
II)      ความเสื่อมของผิวเนื่องจากแสงแดด (Photo aging) ซึ่งเกิดจากรังสียูวีในแสงแดดกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมา

สรุปง่ายๆ คือ ความเสื่อมของผิวเกิดจากอนุมูลอิสระ ดังนั้นการชะลอความเสื่อมของผิวคือการต้านอนุมูลอิสระ

Resveratrol และ Skin Aging


ต้านอนุมูลอิสระ


การเกิดอนุมูลอิสระสามารถเกิดขึ้นได้จากภายในร่างกายซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเมตาบอลิก และจากภายนอกร่างกายเช่น รังสียูวีจากแสงแดด ยากำจัดศัตรูพืช สารพิษต่างๆ และมลภาวะเป็นต้น เมื่อร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินกว่าที่จะต้านได้ร่างกายเราจะเข้าสูภาวะเคียดออกซิเดชั่น(Oxidative Stress) และจะทำลายเซลล์ ซึ่งหมายรวมถึงเซลล์ผิวด้วย

เรสเวอราทรอลเป็นสารที่มีประสิทธิภาพทั้งในการต้านอนุมูลอิสระ และยั้บยั้งการสร้างอนุมูลอิสระ จึงสามารถลดภาวะเครียดออกซิเดชั่นได้(Pandey & Rizvi, 2011)
ไดอะแกรมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าวัดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น และผลของการได้รับเรสเวอราทรอล(Pandey & Rizvi, 2011)

ในภาวะเครียดออกซิเดชั่นความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือด(PAP), ระดับกลูต้าไธโอนรูปรีดิวซ์(GSH) และไทออลรวม(-SH) จะลดลง ในขณะเดียวกันระดับมาโลนไดอัลดีไฮด์(MDA), คาร์บอนิลโปรตีน(PCO) และผลิตภัณฑ์โปรตีนที่เกิดออกซิเดชั่น(AOPP) จะเพิ่มขึ้น
การได้รับเรสเวอราทรอลจะให้ผลในทิศทางตรงกันข้าม

ที่มา

  • Pandey, K. B., & Rizvi, S. I. (2011). Anti-oxidative action of resveratrol: Implications for human health. Arabian Journal of Chemistry, 4(3), 293-298.


ปกป้องผิวจากยูวี


รังสียูวีในแสงแดดสามารถทำลายเซลล์ผิวเรา โดยเฉพาะรังสียูวีบีซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง จากการทดลองในหนูทดลอง และเซลล์ผิวมนุษย์พบว่าเรสเวอราทรอลสามารถบรรเทาการทำลายเซลล์ผิวจากการได้รับรังสียูวีบีได้ (Afag, et al., 2003; Aziz, et al., 2005; Adhami, et al., 2003) และนอกจากนี้รังสียูวีในแสงแดดสามารถลดการทำงานของยีน SIRT 1 ในเซลล์ผิวเราได้ สารกระตุ้นการทำงานของยีน SIRT 1 อย่างเรสเวอราทรอลสามารถปกป้องการทำลายผิวเราจากรังสียูวีได้(Cao, et al., 2009)

ที่มา

  • Afaq, F., Adhami, V. M., & Ahmad, N. (2003). Prevention of short-term ultraviolet B radiation-mediated damages by resveratrol in SKH-1 hairless mice.Toxicology and applied pharmacology, 186(1), 28-37.
  • Aziz, M. H., Afaq, F., & Ahmad, N. (2005). Prevention of UltravioletB Radiation Damage by Resveratrol in Mouse Skin Is Mediated via Modulation in Survivin¶.Photochemistry and photobiology, 81(1), 25-31.
  • Adhami, V.M., Afaq, F., Ahmad, N.: Suppression of ultraviolet B exposure-mediated activation of NF-kappaB in normal human keratinocytes by resveratrol. Neoplasia 5, 74–82 (2003)
  • Cao, C., Lu, S., Kivlin, R., Wallin, B., Card, E., Bagdasarian, A., ... & Wan, Y. (2009). SIRT1 confers protection against UVBand H2O2induced cell death via modulation of p53 and JNK in cultured skin keratinocytes. Journal of cellular and molecular medicine, 13(9b), 3632-3643.


ลดการตายของเซลล์ผิวเนื่องจากอนุมูลอิสระ


เนื่องจากการทำงานของไมโตคอนเดรียในร่างกายจะมีการผลิตไนตริกออกไซด์ออกมาเป็นปรกติอยู่แล้ว โดยในกรณีภาวะปรกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นผลพลอยได้จากไนตริกออกไซด์ได้ แต่ถ้าในภาวะที่มีปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ผิวหนังเมื่อได้รับความร้อน รังสียูวีจากแสงแดด การอักเสบ และการได้รับบาดเจ็บที่ผิวเช่นแผลถลอก และแผลไฟใหม้ เซลล์ผิวของเราจะมีการสร้างไนตริกออกไซด์ที่มากกว่าปรกติซึ่งจะเกิดอนุมูลอิสระมากมายและกระตุ้นการตายของเซลล์ผิวเราได้(Suschek, et al., 2010) เรสวาราทรอลมีความสามารถในการเข้าไปจับเซลล์ผิวและช่วยลดการตายของเซลล์ผิว และปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระได้(Bastianetto, et al., 2010)

ที่มา

  • Suschek, C. V., Opländer, C., & van Faassen, E. E. (2010). Non-enzymatic NO production in human skin: Effect of UVA on cutaneous NO stores. Nitric Oxide,22(2), 120-135.
  • Bastianetto, S., Dumont, Y., Duranton, A., Vercauteren, F., Breton, L., & Quirion, R. (2010). Protective action of resveratrol in human skin: possible involvement of specific receptor binding sites. PloS one, 5(9), e12935.

สร้างเซลล์ผิว


บทบาทของยีน SIRT1 ในเซลล์ผิวคือช่วยในกระบวนการเติบโตของเซลล์ผิว (Differentiation คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ และโครงสร้างของเซลล์ผิวภายในเพื่อจะกลายมาเป็นชั้นผิวด้านนอก) เรสเวอราทรอลซึ่งเป็นสารที่สามารถกระตุ้นการทำงานของยีนนี้ได้จึงมีส่วนช่วยในกระบวนการเติบโตของเซลล์ผิวเช่นกัน(Blander, et al., 2008)

ที่มา

  • Blander, G., Bhimavarapu, A., Mammone, T., Maes, D., Elliston, K., Reich, C., ... & Loureiro, J. J. (2008). SIRT1 promotes differentiation of normal human keratinocytes. Journal of Investigative Dermatology, 129(1), 41-49.


ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสจึงลดการสร้างเม็ดสีช่วยให้ผิวขาว


เรสเวอราทรอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งยับยั้งได้ดีกว่า กรดพีคูมาริก(p-coumaric acid) และ อาร์บูติน(Arbutin)(Park & Boo, 2013)

ที่มา

  • Park, J., & Boo, Y. C. (2013). Isolation of Resveratrol from Vitis Viniferae Caulis and Its Potent Inhibition of Human Tyrosinase. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2013.